× ซาบีน่า คลับ นักลงทุนสัมพันธ์ รายละเอียดโครงการ ขอรับแผ่นตรวจ วิธีการใช้แผ่นตรวจ วิธีรับแผ่นตรวจ บทความ สาขาที่ร่วมรายการ ภาษา THAI
รู้ก่อนตรวจเต้านม มะเร็งเต้านมเกิดจากไหน กี่ระยะ รักษายังไง

ก่อนตรวจเต้านมต้องรู้ มะเร็งเต้านมเกิดจากอะไร มีกี่ระยะ รักษายังไง

    เมื่อได้ยินคำว่าตรวจเต้านมครั้งแรก คุณอาจรู้สึกว่าเป็นเรื่องไกลตัว และไม่จำเป็นต้องสนใจ แต่รู้หรือไม่? ปัจจุบัน “มะเร็งเต้านม” ไม่ใช่โรคร้ายแรงที่ไกลตัวอีกต่อไป ใคร ๆ ก็มีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมได้ ไม่เว้นแม้แต่ผู้ชาย ดังนั้น เพื่อให้คุณเห็นความสำคัญของการตรวจเต้านม มากขึ้น ในบทความนี้ SABINA จึงรวบรวมความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับมะเร็งเต้านม ทั้งสาเหตุของการเกิดโรค ระยะของโรค ไปจนถึงวิธีการรักษา มาติดตามไปพร้อม ๆ กันเลยค่ะ

เคลียร์ความเข้าใจก่อนตรวจเต้านม - มะเร็งเต้านม เกิดจากอะไร

     ข้อมูลจากสมาคมโรคเต้านมแห่งประเทศไทย ระบุว่า มะเร็งเต้านม เกิดจากการแบ่งตัวที่ผิดปกติของเซลล์ในเต้านม โดยเซลล์ที่ผิดปกตินั้นจะเริ่มลุกลามไปยังเซลล์ใกล้เคียง จนกระทั่งกระจายไปถึงต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ ซึ่งจะเป็นจุดที่ทำให้เซลล์มะเร็งแพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกายได้

มะเร็งเต้านมเกิดจากอะไร

เพราะเหตุใด มะเร็งเต้านมจึงแพร่กระจายผ่านต่อมน้ำเหลืองได้

    ระบบทางเดินน้ำเหลืองในเต้านมประกอบไปด้วยส่วนประกอบหลัก ๆ ทั้งหมด 4 ส่วน ได้แก่

      • ต่อมน้ำเหลือง (Lymph Nodes): มีรูปร่างคล้ายเมล็ดถั่ว พบได้ทั่วร่างกาย ทำหน้าที่รวบรวมเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกัน กรองน้ำเหลืองที่มีเชื้อโรค และลำเลียงน้ำเหลืองกลับสู่ระบบหมุนเวียนโลหิตทางเส้นเลือดดำ

       • ท่อน้ำเหลือง (Lymph Vessels): ท่อน้ำเหลือง (Lymph Vessels): ท่อเล็ก ๆ ลักษณะคล้ายเส้นเลือดดำ ภายในบรรจุน้ำเหลือง ทำหน้าที่เชื่อมต่อมน้ำเหลืองเข้าด้วยกัน (ท่อน้ำเหลืองในเต้านมจะเชื่อมต่อกับต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ ผนังทรวงอก)

      • น้ำเหลือง (Lymph): ของเหลวใส ประกอบด้วยของเหลวจากเนื้อเยื่อ ของเสีย และเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกัน

    จะเห็นได้ว่า หนึ่งในหน้าที่ของต่อมน้ำเหลืองคือการลำเลียงน้ำเหลืองกลับสู่ระบบไหลเวียนโลหิต ซึ่งจะต้องสูบฉีดโลหิตในร่างกาย ดังนั้น ยิ่งเซลล์มะเร็งมีจำนวนมากขึ้นเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีโอกาสแพร่กระจายทั่วร่างกายได้มากเท่านั้น

ที่มา: คู่มือการตรวจเต้านม สถาบันมะเร็งแห่งชาติ

มะเร็งเต้านมมีกี่ระยะ

    โดยปกติแล้ว มะเร็งเต้านมจะแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ขึ้นอยู่กับลักษณะของเนื้องอก และการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง

มะเร็งเต้านมมีกี่ระยะ

      • ระยะที่ 1: ก้อนมะเร็งยังไม่แพร่กระจายเข้าสู่ต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ และมีขนาดไม่เกิน 2 ซม.

       • ระยะที่ 2: ก้อนมะเร็งมีขนาดประมาณ 2-5 ซม. และอาจแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ข้างเดียวกัน

      • ระยะที่ 3: ก้อนมะเร็งมีขนาดประมาณ 5 ซม. ขึ้นไป และแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ข้างเดียวกัน

      • ระยะที่ 4: มะเร็งลุกลามไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย

    อย่างไรก็ดี แน่นอนว่ามะเร็งเต้านมมีโอกาสลุกลามไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกายค่อนข้างมาก แต่หากตรวจพบเซลล์มะเร็งตั้งแต่เนิ่น ๆ ก็จะมีโอกาสยับยั้งการลุกลามและรักษาให้หายได้ ดังนั้นการตรวจเต้านมเป็นประจำ เพื่อสังเกตความผิดปกติ จึงช่วยลดอัตราเสี่ยงในการเสียชีวิตจากมะเร็งเต้านมได้

ที่มา: โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์

วิธีการรักษามะเร็งเต้านม

    การรักษามะเร็งเต้านมจะมีระดับความซับซ้อนขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค โดยมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มแรก มักจะต้องรักษาด้วยการผ่าตัด ซึ่งมีทั้งการผ่าตัดเนื้อเต้านมออก การผ่าตัดต่อมน้ำเหลือง และการสร้างเต้านมจากเนื้อเยื่อบริเวณอื่น ทั้งนี้ สำหรับผู้ป่วยที่อาการรุนแรงขึ้น อาจจำเป็นต้องทำเคมีบำบัดหรือฉายรังสีเพิ่มเติม ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์

ไม่อยากผ่าตัดเต้านม ต้องหมั่นตรวจเต้านมตั้งแต่เนิ่น ๆ

     ข้อมูลจากหัวข้อที่ผ่านมา ทำให้คุณทราบว่าการรักษามะเร็งเต้านมจำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัด ดังนั้น เพื่อลดโอกาสเสี่ยงที่จะต้องผ่าตัดเต้านม คุณจึงควรศึกษาเรื่องการตรวจเต้านมวิธีต่าง ๆ และเลือกตรวจตามวิธีที่เหมาะสมกับตัวเอง

การผ่าตัดมะเร็งเต้านม

การตรวจเต้านมแบ่งออกเป็นกี่วิธี

    การตรวจเต้านมสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 วิธีใหญ่ ๆ ดังนี้

การตรวจเต้านมแบบแมมโมแกรม

    คือ การตรวจคัดกรองความผิดปกติของเต้านม โดยใช้รังสีปริมาณต่ำ จึงไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย เหมาะกับผู้หญิงที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป

การตรวจเต้านมแบบอัลตราซาวด์

    คือ การตรวจคัดกรองความผิดปกติของเต้านม โดยใช้คลื่นความถี่สูง หมดกังวลเรื่องปริมาณรังสีที่ตกค้างในร่างกาย เหมาะกับผู้หญิงที่มีอายุน้อยกว่า 40 ปี หรือบางครั้งแพทย์อาจแนะนำให้ตรวจเต้านมแบบแมมโมแกรมควบคู่กับอัลตราซาวด์ เพื่อผลลัพธ์ที่แม่นยำมากขึ้น

การตรวจเต้านมเบื้องต้นด้วยตนเอง

    2 วิธีแรกที่กล่าวมาจะเป็นการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม ซึ่งจะต้องเข้ารับการตรวจที่โรงพยาบาล แต่หากคุณต้องการสังเกตความผิดปกติเบื้องต้นด้วยตัวคุณเองที่บ้าน ก็สามารถใช้วิธีคลำตรวจเต้านมได้

อ่านข้อมูลเพิ่มเติม: การตรวจเต้านมแบบอัลตราซาวด์คืออะไร ต่างกับแมมโมแกรมอย่างไร

เทคนิคการตรวจเต้านมด้วยตนเอง

    ผู้หญิงทุกคนสามารถเรียนรู้การตรวจเต้านมด้วยตนเอง เพื่อสังเกตความผิดปกติในเบื้องต้นได้ ทั้งนี้ หากรู้สึกได้ถึงความผิดปกติ เช่น มีก้อนเนื้อแข็ง ๆ หรือมีของเหลวไหลออกมาบริเวณเต้านม ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

ผู้หญิงแต่ละช่วงวัย ควรตรวจเต้านมบ่อยแค่ไหน?

       ผู้หญิงอายุ 20 - 40 ปี: แนะนำให้ตรวจเต้านมด้วยตนเองทุกเดือน อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง

       ผู้หญิงอายุ 40 ปีขึ้นไป: แนะนำให้ตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง และตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมกับแพทย์อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

มีอุปกรณ์ที่ช่วยให้การตรวจเต้านมง่ายขึ้นไหม?

      การคลำตรวจเต้านมด้วยตนเองอาจมีข้อจำกัดเล็กน้อย เนื่องจากน้ำหนักมือของแต่ละคนไม่เท่ากัน และบางท่านก็อาจรู้สึกสับสนว่าควรลงน้ำหนักมือที่บริเวณไหน ดังนั้น SABINA จึงคิดค้น BREAST CANCER SIMULOTOR PAD หรือแผ่นจำลองเรียนรู้การตรวจเต้านมด้วยตนเอง โดยอ้างอิงจากฐานข้อมูลศูนย์ถันย์รักษ์ โรงพยาบาลศิริราช เพื่อช่วยให้คุณสามารถคลำตรวจเต้านมได้ง่ายและแม่นยำมากขึ้น

แผ่นจำลองเรียนรู้การตรวจเต้านม - Sabina

    ลงทะเบียนรับ BREAST CANCER SIMULOTOR PAD ได้ฟรี! เพียงซื้อสินค้า SABINA ครบ 1,500 บาท ในช่องทางที่ร่วมรายการ

    รับสิทธิ์ลงทะเบียนได้ที่ Sabina Shop ทุกสาขาและ Sabina Online

    Sabina Shop ทุกสาขาและ Sabina Online

    • Web : https://www.sabina.co.th

    • Facebook : SabinaThailand

    • LINE@ : @SabinaThailand

    วันที่ 4 ก.พ. 2566 - 31 ต.ค. 2566 นี้เท่านั้น

    ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่: BREAST CANCER SIMULOTOR PAD